นโยบายและภาพรวมการประกอบธุรกิจ

บริษัท เพาเวอร์ไลน์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) จดทะเบียนจัดตั้งเป็นบริษัทจำกัด เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2531 โดยกลุ่มวิศวกรซึ่งมีประสบการณ์ในงานวิศวกรรมแขนงต่าง ๆ นำโดย นายเสวก ศรีสุชาต และนายอำนวย กาญจโนภาศ เพื่อประกอบธุรกิจให้บริการออกแบบ จัดหา และรับเหมาติดตั้งงานระบบวิศวกรรมสำหรับอาคารสำนักงาน อาคารพาณิชย์ ที่อยู่อาศัย โรงแรม โรงพยาบาล ศูนย์การค้า โรงงานอุตสาหกรรม ทั้งนี้กลุ่มผู้ก่อตั้งได้เล็งเห็นแนวโน้มการเติบโตของความต้องการงานบริการด้านวิศวกรรม ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะรองรับการเจริญเติบโตทางเ ศรษฐกิจของประเทศ บริษัทได้แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัดเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2545 และเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2545 ในระยะที่ผ่านมาธุรกิจของบริษัทขยายตัวเพิ่มขึ้น และได้มีการเข้าลงทุนเพิ่มเติมในกิจการต่าง ๆ ในบริษัทย่อย ประกอบด้วยธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โรงไฟฟ้าขนาด 10 MW และการรับเหมางานในต่างประเทศ ได้ร่วมลงทุนในกิจการร่วมค้ากับบริษัทอื่น เพื่อรับเหมางานก่อสร้างขนาดใหญ่ของภาครัฐบาล

นโยบายการรับงานในปี 2566 และในระยะต่อไป คาดว่าจะขยายงานไปรับงานภาครัฐบาลมากขึ้น เนื่องจากภาครัฐมีโครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานตามยุทธศาสตร์การขนส่ง เช่น งานรถไฟรางคู่ ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) งานของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม) งานส่วนต่อขยายท่าอากาศยานสนามบินสุวรรณภูมิ และงานที่จะเกิดขึ้นสำหรับโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor-EEC) ของรัฐบาลเป็นต้น ส่วนงานภาคเอกชนยังรับงานอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าที่พึงพอใจในผลงานการให้บริการของบริษัทในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เช่น กลุ่มเซ็นทรัล กลุ่ม CP กลุ่ม TCC กลุ่มโนเบิล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ รวมทั้งงานโรงงานอุตสาหกรรม โรงงานผลิตยา โรงไฟฟ้า เป็นต้น

ทั้งนี้ในส่วนของบริษัท, บริษัทย่อย และบริษัทร่วม มีรายละเอียดการดำเนินกิจการ ดังนี้

bg-ring
bg-corporate-profile
bg-star
บริษัท เพาเวอร์ไลน์เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) (PLE)

บริษัทประกอบธุรกิจให้บริการรับเหมางานก่อสร้างทั่วไป รวมถึงงานออกแบบ จัดหา และรับเหมาติดตั้งงานระบบวิศวกรรมอย่างครบวงจร รับงานทั้งจากภาคเอกชน และภาครัฐ โดยเป็นทั้งผู้รับเหมาโดยตรง (Main Contractor) และเป็นผู้รับเหมาช่วง (Sub-contractor) ซึ่งงานจากการรับเหมาโดยตรงและรับเหมาช่วงนั้นอาจจะมาจากวิธีการประมูล หรือการเจรจาต่อรอง รวมถึงการร่วมมือกับบริษัทอื่นในลักษณะกิจการร่วมค้า (Joint Venture) และกิจการค้าร่วม (Consortium) บริการของบริษัทสามารถแบ่งตามลักษณะงานและระบบที่ติดตั้งได้เป็น 5 ประเภทหลัก ได้แก่

  1. งานก่อสร้างโยธา
  2. ระบบไฟฟ้า
  3. ระบบปรับอากาศ
  4. ระบบสุขาภิบาลและระบบป้องกันอัคคีภัย
  5. ระบบสื่อสารโทรคมนาคม และ ICT
บริษัท พีแอลอีอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เดิมชื่อ บริษัท ยูนิมา เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (PLEI)

บริษัท พีแอลอีอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (“พีแอลอีอินเตอร์”) จดทะเบียนจัดตั้งเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2530 เพื่อประกอบธุรกิจรับเหมาก่อสร้างงานโยธาทั่วไป ครอบคลุมถึงการก่อสร้างอาคารสำนักงาน อาคารพาณิชย์โรงพยาบาลศูนย์การค้า สถาบันการศึกษา โรงแรม ที่พักอาศัย โรงงานอุตสาหกรรม โดยพีแอลอี อินเตอร์เป็นบริษัทผู้รับเหมาที่มีผลงานกับหน่วยงานราชการหลายแห่ง เช่น การประปาส่วนภูมิภาค กระทรวงสาธารณสุข และ กระทรวงมหาดไทย เป็นต้น บริษัทฯได้ซื้อหุ้นสามัญของยูนิมาร้อยละ 99.99 ของทุนจดทะเบียน ในเดือนกันยายน 2543 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อขยายการประกอบธุรกิจของบริษัทด้านงานก่อสร้าง ในเดือนมิถุนายน 2548 บริษัทได้จดทะเบียนเพิ่มทุนจากเดิม 60 ล้านบาท เป็น 300 ล้านบาท ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาไม่ได้ดำเนินธุรกิจมากนัก ในปัจจุบันบริษัทมีแผนการที่จะร่วมมือกับผู้ลงทุนจากต่างประเทศ เพื่อเข้าประมูลงานของภาครัฐบาลและ/หรือโครงการพลังงานทดแทนในรูปแบบต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตต่อไป

ปี 2565 ได้เข้าร่วมลงทุนในรูปของกิจการร่วมค้า (Joint venture) ในนาม “กิจการร่วมค้า อินเตอร์-ออสซี่” (Inter-Ausy Joint Venture) โดยตกลงแบ่งสัดส่วนการลงทุน การแบ่งผลกำไร ขาดทุนในการดำเนินงานของกิจการร่วมค้า ดังนี้

  • บริษัท พีแอลอีอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (PLEI) ร้อยละ 80
  • บริษัท ออสซี่จำกัด (AUSY) ร้อยละ 20

เพื่อเข้าร่วมดำเนินโครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษหมายเลข 82 สายทางยกระดับบางขุนเทียน-บ้านแพ้ว ช่วงเอกชัย-บ้านแพ้ว ตอน 8 ก่อสร้างบนทางหลวงหมายเลข 35 ระหว่าง กม.31+207.250 - กม.33+366.000 รวมระยะทางประมาณ 2.159 กิโลเมตร มูลค่างานทั้งสิ้น 1,594.85 ล้านบาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว) ระยะเวลาก่อสร้าง 36 เดือน ซึ่งจะเป็นการรับเหมาช่วง (Subcontract) จากกิจการร่วมค้า ซีซีเอสพี-เดอะซีอีซี ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ บมจ.ซีวิล เอ็นจิเนียริ่ง ซึ่งได้รับสัญญาจ้างจากกรมทางหลวง แล้ว ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเรียนรู้ระบบการทำงาน และการดำเนินการก่อสร้างงานประเภท Infrastructure รวมถึงเป็นการสร้างบุคลากรรองรับการขยายงานด้านนี้ต่อไปในอนาคต

บริษัท เทคเนอร์จำกัด (TN)

บริษัท เทคเนอร์จำกัด (TN) จดทะเบียนเมื่อวันที่9 มีนาคม 2533มีทุนจดทะเบียน 10 ล้านบาท ประกอบธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ที่ตั้ง 140 ชั้น 10 อาคาร วัน แปซิฟิ ค เพลส ยูนิค 1001 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110 โดยบริษัท เพาเวอร์ไลน์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) มีมติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 4/2548 เมื่อวันที่4 มิถุนายน 2548 อนุมัติให้ร่วมลงทุนในบริษัท เทคเนอร์จำกัด (TN) โดยเข้าถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 50 ของทุนจดทะเบียนของ TN เป็นจำนวนเงิน 5 ล้านบาท ได้จ่ายชำระเงินลงทุนและรับโอนหุ้นของ TN ซึ่งจะทำให้ TN เป็นบริษัทย่อยของ PLE เพื่อรับงานจากการเคหะแห่งชาติโครงการบ้านเอื้ออาทรโดย PLE เป็นผู้ค้ำประกันวงเงินสินเชื่อ Letter of Guarantee ให้กับ TN 100%ในวงเงินไม่เกิน 2,000 ล้านบาท ผลประโยชน์ที่PLE จะได้รับจะเป็นรายได้ผลกำไรและเงินปันผลตามสัดส่วนของผู้ถือหุ้น และเมื่อสิงหาคม 2549 TN ได้จดทะเบียนเพิ่มทุน เป็น 60 ล้านบาท โดยมีทุนชำระแล้ว จำนวน 22.5 ล้านบาทซึ่งเป็นในส่วนที่ PLE ลงทุน จำนวน 11.25 ล้านบาท และเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2552 PLE ได้ชำระทุนให้ครบอีก 18.75 ล้านบาท รวมเป็น 30.0 ล้านบาท TN ได้รับเหมางานก่อสร้างบ้านเอื้ออาทรกับการเคหะแห่งชาติ(กคช.) รวม 3 โครงการ คือ โครงการลาดหลุมแก้ว จำนวน 974 หน่วย โครงการอยุธยา (บางปะอิน) จำนวน4,300 หน่วย และโครงการอ่างทอง จำนวน 1,550 หน่วย TN ได้ส่งมอบงานโครงการลาดหลุมแก้วเรียบร้อยแล้ว ส่วนอีก 2 โครงการ มีความคืบหน้าเพียง 13% เท่านั้น และเมื่อเมษายน 2551 ทาง กคช. ได้มีหนังสือขอยกเลิกโครงการทั้ง 2 โครงการและขอ Claim ตามหนังสือค้ำประกันธนาคาร 2 ฉบับ เป็ นเงินรวม 280 ล้านบาท และหนังสือค้ำประกันธนาคารไทยธนาคาร (CIMB ในปัจจุบัน) 1 ฉบับ จำนวน 79 ล้านบาท โดยอ้างเหตุผลว่า TN ผิดสัญญางานไม่มีควาบคืบหน้า ซึ่งทาง TN ได้ยื่นฟ้องร้องดำเนินคดีศาลแพ่งกับ กคช. โดยระยะที่ผ่านมาได้มีการไกล่เกลี่ยรวม 2 ครั้ง และศาลนัดไกล่เกลี่ยในวันที่ 3 เมษายน 2552 ซึ่งยังหาข้อยุติไม่ได้ ศาลจึงนัดสืบพยานในวันที่ 20-23 กรกฎาคม 2553 ในเดือนพฤษภาคม 2555 ศาลแพ่งส่งเรื่องให้ศาลปกครองพิจารณา และเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2560 ศาลปกครองกลางได้มีคำพิพากษาให้ TN และธนาคารผู้ค้ำประกัน ชำระค่าเสียหายให้ กคช. (โครงการอยุธยา บางปะอิน) จำนวน 272.1 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย 15% ของเงินต้น 203.8 ล้านบาท และเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2560 ศาลปกครองกลางได้มีคำพิพากษาให้ TN และธนาคารผู้ค้ำประกัน ชำระค่าเสียหายให้ กคช. (โครงการอ่างทอง วิเศษชัยชาญ) จำนวน 88.4 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย 15% ของเงินต้น 66.74 ล้านบาท โดยบริษัทได้ทำการตั้งสำรองหนี้ จำนวน 517.5 ล้านบาท สำหรับภาระค้ำประกันที่บริษัทได้ค้ำประกันหนี้ของ TN ไว้กับธนาคาร และทาง TN ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุดไว้แล้ว

เมื่อวันที่21 พฤศจิกายน 2566 ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำพิพากษาให้TN และธนาคารไทยพาณิชย์จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้ค้ำประกัน TN โครงการบางปะอิน ชำระเงินจำนวนรวม 483 ล้านบาท ให้กับ กคช. ซึ่งเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2567 ธนาคารไทยพาณิชย์ฯ ได้ชำระเงินจำนวนดังกล่าวข้างต้นให้กับ กคช. เรียบร้อยแล้ว ในขณะเดียวกันธนาคารไทยพาณิชย์ฯ ได้อนุมัติเงินกู้ระยะยาว ผ่อนชำระภายใน 60 เดือน จำนวน 483 ล้านบาท ให้กับบริษัทในฐานะผู้ค้ำประกัน TN ส่วนโครงการบ้านเอื้ออาทรวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง คาดว่าศาลปกครองสูงสุดจะมีคำพิพากษา ภายในเดือนมิถุนายน 2567

ส่วนการดำเนินการของบริษัทในฐานะผู้ถือหุ้นของ TN บริษัทได้ดำเนินการติดตามให้กรรมการผู้จัดการและกรรมการบริหารของ TN ให้จัดเตรียมแผนการสำหรับการแก้ไขปัญหา TN และติดตามทวงถามลูกหนี้รายใหญ่ของ TN บริษัท เอเพ็กซ์คอนครีท เทค จำกัด ให้ชำระหนี้คืนให้แก่ TN โดยเร็ว โดยในปี 2551 ทางกรรมการผู้จัดการและผู้บริหาร TN ไม่ได้ดำเนินการให้มีความคืบหน้าแต่ประการใด นอกจากนั้นทางกรรมการผู้จัดการและผู้บริหารของ TN ไม่ได้จัดทำงบการเงินประจำปี 2551 เพื่อให้ผู้สอบบัญชีของบริษัทเข้าตรวจสอบ จนทำให้งบการเงินรวมของบริษัทประจำปี 2551 เป็นงบการเงินที่ผู้สอบบัญชีแสดงความเห็นอย่างมีเงื่อนไข ซึ่งการไม่ดำเนินการดังกล่าวของกรรมการผู้จัดการแลผู้บริหารของ TN ทำให้บริษัทได้รับความเสียหาย บริษัทจึงได้ยื่นฟ้องร้องต่อศาลแพ่ง เพื่อดำเนินคดีกับ TN กรรมการผู้จัดการ และกรรมการบริหาร เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2552 และเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2552 ได้ดำเนินคดีอาญากับกรรมการผู้จัดการ และผู้บริหารของ TN ปัจจุบันได้ดำเนินคดีทั้งทางแพ่ง และอาญากับกรรมการผู้จัดการ TN รวม 14 คดี ซึ่งมีจำนวน 5 คดี ที่คดีได้สิ้นสุดแล้ว คดีอาญา ศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ ได้ตัดสินจำคุกกรรมการผู้จัดการ ปัจจุบันคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา คดีแพ่ง ศาลมีคำสั่งให้ TN ชำระหนี้ให้กับบริษัท ได้ดำเนินการบังคับคดี ยึดและขายทรัพย์ เพื่อชำระหนี้ ราคาประเมินของเจ้าพนักงานบังคับคดี รวม 5 แปลง เป็นเงิน 27,712,500 บาท แต่จนถึงปัจจุบันยังไม่มีผู้สนใจซื้อทรัพย์สินที่เป็นที่ดินเดิมที่ TN ซื้อมาเพื่อเป็นบ่อดิน โดยทางกรมบังคับคดีจะยังคงเปิ ดประมูลต่อไป

บริษัท เอส เอ ฟิวเจอร์พร็อพเพอร์ตี้จำกัด (เดิมชื่อ บริษัท เอส เอ พีเอส 2007 โฮลดิ้ง จำกัด) (SAFP)

บริษัท เอส เอ ฟิ วเจอร์ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (SA) เดิมชื่อ บริษัท เอส เอ พี เอส 2007 โฮลดิ้ง จำกัด (SAPS) จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทและชำระทุนเต็มจำนวน เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2550 โดยมีสถานประกอบการอยู่ที่เดียวกับ บริษัท เพาเวอร์ไลน์เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) โดยมีทุนจดทะเบียนเริ่มต้น 80 ล้านบาท ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 1/2552 วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2552 ได้มีมติให้เพิ่มทุนใน SAPS เป็น 160 ล้านบาท โดยเงินลงทุนทั้งหมด SAPS นำไปลงทุนในบริษัท สิทธารมย์ ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (SDC) เพื่อประกอบธุรกิจบ้านจัดสรรที่จังหวัดอุดรธานี และในปี 2559 ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2559 เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2559 ของ PLE มีมติอนุมัติให้ SAPS ขายหุ้น STR ให้กับบริษัท อาดามัส อินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ในราคา 370 ล้านบาท ซึ่งการทำรายการครั้งนี้ ทำให้บริษัทมีกำไร ประมาณ 195 ล้านบาท วันที่ 17 สิงหาคม 2561 SAPS ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินในซอยเอกมัย 22 เนื้อที่ 3 งาน 99 ตารางวา ในราคา 111,720,000 บาท เพื่อลงทุนโครงการก่อสร้างคอนโดมิเนียม และตกลงทำการโอนกรรมสิทธ์ิที่ดินนี้ ในวันที่ 5 มีนาคม 2562

เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2562 ได้จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อบริษัท เป็ น บริษัท เอส เอ ฟิ วเจอร์ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (SAFP) โดย SAFP เข้าลงทุนในโครงการคอนโดมิเนียม ชื่อโครงการ HOLME Ekamai 22 ทำเลที่ตั้ง ภายในซอยเอกมัย 22 และต่อเชื่อมกับ ซอยปรีดีพนมยงค์41 Concept การออกแบบ Modern Contemporary ราคาขาย 150,000 บาทต่อตารางเมตร (129,000 บาท/ตรม. 162,000 บาทต่อ ตรม.) เริ่มเปิดตัวโครงการเมื่อ ประมาณเดือน พฤศจิกายน 2562

ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 4/2564 เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2564 มีมติให้บริษัท เอส เอ ฟิวเจอร์ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ PLE) ดำเนินการก่อสร้างคอนโดมิเนียม โครงการ “Holme Ekkamai 22” โดย มีบริษัท เพาเวอร์ไลน์เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทรับเหมาก่อสร้าง มูลค่างาน 220 ล้านบาท ระยะเวลาก่อสร้าง 18 เดือน แล้วเสร็จประมาณเดือนกันยายน 2565 ในปี 2564 โครงการ Holme Ekkamai 22 ได้รับรางวัลชนะเลิศ Thailand Property Awards 2 รางวัล จัดโดย Property Guru สาขา Best Mid-End Condo Development และ Best Condo Architectural Design

ณ วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2567 มียอดจอง ห้องแบบ 1 Bed ยอดจองจำนวน 33 ยูนิต จากทั้งหมด 70 ยูนิต คิดเป็น 47% ห้องแบบ 2 Bed ยอดจองจำนวน 9 ยูนิต จากทั้งหมด 12 ยูนิต คิดเป็น 75% ห้องแบบ Duplex ยอดจองจำนวน 3 ยูนิต จากทั้งหมด 8 ห้อง คิดเป็น 38% รวมยอดจองทั้งหมด 45 ยูนิต คิดเป็น 50% เป็นเงิน 276.1 ล้านบาท การก่อสร้างเสร็จเกือบ 100% แล้ว คาดว่าจะเริ่มทยอยโอนให้กับลูกค้าได้ประมาณเดือนมีนาคม 2567

บริษัท โปร อินเทลลิเจ้นซ์แอนด์โซลูชั่นส์จำกัด (PISO)

บริษัทได้เข้าร่วมทุนกับ บริษัท ไพร์ม โรด กรุ๊ป จำกัด และบริษัท โพรแมซส์ จำกัด จดทะเบียนจัดตั้งบริษัท ในนาม “บริษัท โปร อินเทลลิเจ้นซ์ แอนด์ โซลูชั่นส์ จำกัด” (PISO) เพื่อประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการออกแบบและบริการติดตั้งระบบอินทอร์เน็ต ระบบสื่อสาร ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและปัญญาประดิษฐ์ จัดจำหน่ายอุปกรณ์สื่อสารทุกประเภททุนจดทะเบียนบริษัท 20 ล้านบาท โดยได้ชำระทุนเบื้องต้น 25% คิดเป็นเงิน 5 ล้านบาท และในสัดส่วน 44% ของ PLE ต้องชำระทุนเบื้องต้น 2.2 ล้านบาท ซึ่งมีสัดส่วนการถือหุ้น ดังนี้

บริษัท สัดส่วนการถือหุ้น
1. บริษัท ไพร์ม โรด กรุ๊ป จำกัด 51%
2. บริษัท เพาเวอร์ไลน์เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) 44%
3. บริษัท ไพรแมซส์จำกัด 5%
บริษัทได้ร่วมลงทุนในกิจการร่วมค้า 2 แห่ง
  1. ร่วมลงทุน กับ บริษัท แอสคอน คอนสตรัค จำกัด (มหาชน) และ บริษัท รวมนครก่อสร้าง (ประเทศไทย) จำกัด ใช้ชื่อว่า “กิจการร่วมค้า PAR” ในสัดส่วนการลงทุน ร้อยละ 35 เพื่อรับงานก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางใหญ่-บางซื่อ) สัญญาที่3 อาคารศูนย์ซ่อมบำรุงและอาคารจอดแล้วจร มูลค่างาน 5,025 ล้านบาท บริษัทได้เพิ่มสัดส่วนในการลงทุนเป็นมากกว่าร้อยละ 90 ในปลายปี 2558 ได้ส่งมอบงานทั้งหมดให้กับทาง รฟม. แล้ว ณ วันสิ้นปี 2558 รายได้ในส่วนของค่า K และงานเพิ่มที่คาดว่าจะได้รับจาก รฟม. ไม่เป็นตามเป้าหมาย ในขณะที่PAR ต้องรับรู้ต้นทุนที่สูงมาก ทำให้ PAR รับรู้ขาดทุน จำนวน 1,120 ล้านบาท ซึ่งส่งผลกระทบต่องบการเงินของบริษัทต้องรับรู้ขาดทุนจำนวนที่สูงมาก ในปี 2561 บริษัทมีต้นทุนค่าใช้จ่ายสำหรับการเก็บงานซ่อมแซมที่ยังอยู่ในช่วงค้ำประกันงาน และทำให้ PAR มีผลขาดทุน 2.6 ล้านบาท ได้รับเงินส่วนที่โครงการค้างอยู่69 ล้านบาท ในเดือนมิถุนายน 2563 ปัจจุบันอยู่ในระหว่างการรอชำระบัญชี
  2. ร่วมลงทุนจัดตั้ง “กิจการร่วมค้า อินเตอร์-ออสซี่” ซึ่งประกอบด้วย บริษัท พีแอลอี อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด และบริษัท ออสซี่จำกัด เพื่อดำเนินโครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษหมายเลข 82 สายทางยกระดับบางขุนเทียน-บ้านแพ้ว ช่วงเอกชัย-บ้านแพ้ว ตอน 8 โดยตกลงแบ่งสัดส่วนการลงทุน การแบ่งผลกำไร ขาดทุนในการดำเนินงานของกิจการร่วมค้า ดังนี้
    • บริษัท พีแอลอีอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (PLEI) ร้อยละ 80
    • บริษัท ออสซี่จำกัด (AUSY) ร้อยละ 20

“ผู้ลงทุนสามารถศึกษาข้อมูลของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์เพิ่มเติมได้จากแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1) ของบริษัทที่แสดงไว้ใน www.sec.or.th หรือเว็บไซด์ของบริษัท www.ple.co.th

cross menu